หน้าเว็บ

สถานที่ตั้งพระบรมศพ

“พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท” สถานที่ประดิษฐานพระบรมศพมหากษัตราธิราชแห่งราชจักรีวงศ์



พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นพระที่นั่งองค์ประธานของพระที่นั่งทั้งหมู่
รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ มีขนาดสูงใหญ่เท่าพระที่นั่งสุริยามรินทร์ในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา
ในระหว่างรัชกาลเมื่อมีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงฝ่ายในบางพระองค์สิ้นพระชนม์ลงก็โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระศพบนพระมหาปราสาท เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุนทรเทพ เป็นต้น
และที่สำคัญที่สุด คือ เมื่อรัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคตก็ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐานไว้บนพระมหาปราสาท จนกลายเป็นธรรมเนียมที่จะประดิษฐานพระบรมศพสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ต่อๆมา
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อโปรดเกล้า ให้บูรณะพระมหามณเฑียร ก็ได้เสด็จมาประทับและเสด็จออกว่าราชการที่พระที่นั่งหมู่นี้เช่นเดียวกับสมัยรัชกาลที่ 1 และเคยโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นที่ชุมนุมสงฆ์ทำสังคายนาพระไตรปิฎกด้วย
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้านทิศเหนือ
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้านทิศเหนือ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการพระราชพิธีต่างๆ โปรดเกล้าฯ ให้จัดมุขเหนือ มุขตะวันออกและมุขตะวันตกเป็นท้องพระโรง สำหรับฝ่ายหน้า จัดมุขใต้สำหรับฝ่ายในและเสด็จฯ ประทับที่ พระบัญชรบุษบกมาลา ซึ่งตั้งอยู่กลางผนังด้านทิศใต้ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ เป็นที่เสด็จออกให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในดฝ้าฯ นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้ทำฉากลงรักปิดทองเป็นภาพพิธี “อินทราภิเษก” เพื่อกั้นมุขใต้แทนม่าน
ในสัมยรัชกาลที่ 5 เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 รัชกาลก่อนอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนหน้าที่จะสร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทเพื่อเป็นที่ประดาฐานพระบรมรูปดังกล่าว
ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเฉลิมราชมณเฑียรที่พระมหาปราสาทนี้ใน พ.ศ. 2465 ได้ตั้งพระแท่นบรรทมที่มุขด้านทิศตะวันออก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ต่อเติม ห้องสรง ขึ้นที่มุมพระมหาปราสาทระหว่างมุขตะวันออกกับมุขใต้
พระบรมศพสมเด็จพระยางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ประดิษฐานที่มุขตะวันตกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
พระบรมศพสมเด็จพระยางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ประดิษฐานที่มุขตะวันตกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ปัจจุบันพระที่นั่งองค์นี้ ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีและการพระราชกุศลต่างๆ โดยพระราชพิธีสำคัญซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำ คือ พระราชพิธีฉัตรมงคล
ส่วนที่มุขเด็จของพระมหาปราสาทนั้น พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ได้เสด็จออกให้เฝ้าฯ เนื่องในโอกาสต่างๆกัน หรือบางครั้งเป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุที่สำคัญ เช่น สมัยรัชกาลที่ 1 ได้เสด็จออกให้เจ้าประเทศราช เช่น ทูตเมืองทวายเข้าเฝ้าฯ โดยประทับเหนือพระที่นั่งบุษบกมาลาซึ่งตั้งอยู่กลางมุข
ส่วนเจ้าประเทศราชหมอบเฝ้า ฯ อยู่ ณ ท้องพระลานเบื้องหน้าพระพักตร์
นอกจากนั้น ในรัชกาลต่อมาที่มุขเด็จแห่งนี้ยังเป็นที่เสด็จออกมหาสมาคมในงานพระราชพิธี หรือโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ในรัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณมาประดิษฐานที่พระที่นั่งบุษบกมาลาที่มุขเด็จแห่งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา เนื่องในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
พระบัญชรบุษบกมาลาที่กลางผนังด้านทิศใต้ เป็นที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในเฝ้าฯ
พระบัญชรบุษบกมาลาที่กลางผนังด้านทิศใต้ เป็นที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในเฝ้าฯ

พระโกศ คือที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ กับโกศที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ตามคตินิยมของพราหมณ์ที่เชื่อว่า ต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์[

พระโกศเป็นภาชนะเครื่องสูงมีรูปทรงเป็นกรวยมียอดแหลม อาจแยกตามวัตถุประสงค์การใช้งานเป็น 2 ประเภทคือ พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ และ พระโกศพระบรมอัฐิหรือพระอัฐิ ซึ่งพระโกศพระบรมศพมี 2 ชั้น คือชั้นนอกเรียกว่า "ลอง" ทำด้วยโครงไม้หุ้มทองปิดทอง ประดับกระจกอัญมณี และ ชั้นใน เรียก "โกศ" ทำด้วยเหล็ก ทองแดงหรือเงิน ปิดทอง ลองชั้นนอกใช้ประกอบปิดโครงชั้นในสำหรับลอง หรือ พระลอง ที่ประดับอยู่ภายนอกของโกศ ต่อมานิยมเรียกพระลอง เป็นพระโกศแทน จนเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน เช่น เรียกพระลองทองใหญ่ ว่าพระโกศทองใหญ่ เป็นต้น

(ศึกษาเรื่อง"พระโกศ" ได้อีกที่นี่ คลิ๊ก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น